Last updated: 11 ต.ค. 2566 | 340 จำนวนผู้เข้าชม |
เนื้อผ้าชนิดไหนบ้าง ที่เหมาะสมสำหรับนำมาทำเสื้อช็อป เพื่อเป็นยูนิฟอร์มทำงานของบริษัท
ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะองค์กรหรือบริษัทไหน ๆ ที่ต้องการให้แบรนด์ของตัวเองเป็นที่รู้จัก และสร้างความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นระหว่างคู่แข่ง นั่นก็คือ ชุดยูนิฟอร์ม นั่นเอง สิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยให้แบรนด์ของเราสามารถสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ต้องการจะส่งออกไปสู่ลูกค้าได้ง่ายและชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ CI สีของแบรนด์ ภาพลักษณ์ โลโก้ และสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการนำเสนอ ก็สามารถส่งออกไปผ่านการแต่งกายของพนักงานได้เลย ด้วยเหตุผลนี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้หลาย ๆ บริษัทมองหาบริษัทรับผลิตเสื้อช็อป ชุดยูนิฟอร์มพนักงาน เพื่อนำมาใช้สำหรับแบรนด์ของตัวเอง ในวันนี้ เราจะมาแนะนำเนื้อผ้ายอดนิยมในการใช้ผลิตเสื้อช็อป ว่าควรเลือกใช้ผ้าแบบไหนดี ผ้าแต่ละแบบมีข้อดีอย่างไร ไปดูกันเลย!
เสื้อช็อป ชุดยูนิฟอร์มช่าง มีข้อดีอย่างไร ทำไมถึงควรใช้เป็นยูนิฟอร์มของบริษัท
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับเสื้อช็อป (Workshop shirt) กันก่อน เสื้อช็อป เป็นเสื้อสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน โดยส่วนใหญ่แล้วมักใช้กันในงานโรงงาน เช่น วิศวะ สถาปัตย์ เกษตร ช่างยนต์ ฯ ที่ต้องมีการลงมือทำงานในพื้นที่จริง โดยเนื้อผ้าของเสื้อช็อปที่ดี จะมีคุณสมบัติในการปกป้องผู้สวมใส่จากสิ่งที่มีความเสี่ยงกว่าปกติได้ เช่น ช่วยปกป้องจากกระแสไฟฟ้าสถิต สะเก็ดไฟจากงานเชื่อมโลหะ เป็นต้น ดังนั้น การเลือกเนื้อผ้าในการผลิตเสื้อช็อป จึงจำเป็นต้องเลือกให้ดี เพื่อให้ได้เสื้อช็อปที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพราะความสำคัญด้านความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงมากที่สุด โดยเราได้สรุปข้อดีสั้น ๆ ของเสื้อช็อปในมุมมองของแบรนด์ เอาไว้ ดังนี้
ช่วยให้พนักงานมีความคล่องตัวในการทำงาน
เสื้อช็อป ที่มีการออกแบบที่ดี และเหมาะสม จะช่วยให้พนักงานที่สวมใส่สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว และปลอดภัยมากขึ้น เช่น มีช่องกระเป๋าสำหรับใส่ปากกา หรือมีกระเป๋าเล็ก ๆ สำหรับเก็บอุปกรณ์เล็ก ๆ ได้ เป็นต้น นอกจากนี้ หากเลือกวัสดุเนื้อผ้าที่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี ยังช่วยให้ผู้สวมใส่ทำงานได้อย่างสบายมากขึ้น ซึ่งช่วยลดอาการเหนื่อยล้าได้อีกด้วย
ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์
การออกแบบเสื้อช็อป เพื่อเป็นชุดยูนิฟอร์ม จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ เหมือนกับเป็นป้ายโฆษณาของแบรนด์ที่เคลื่อนที่ได้ผ่านการเดิน หรือไปตามสถานที่ต่าง ๆ ลวดลายของเสื้อ CI สีของแบรนด์ รวมไปถึงโลโก้แบรนด์ สิ่งเหล่านี้เราสามารถสื่อสารผ่านการออกแบบดีไซน์ของเสื้อช็อปได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ การช่วยให้องค์กรเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง นอกจากนี้ การสวมใส่ยูนิฟอร์มที่ดูดี ยังทำให้ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของบริษัทดูดีมากขึ้นอีกด้วย
ลูกค้าสามารถจำแนกได้ง่ายมากขึ้น
เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะเคยเข้ามาตามงานอีเว้นท์ หรือเข้ามาที่โชว์รูมรถยนต์ต่าง ๆ กันมาบ้าง จะเห็นได้ว่า การแบ่งเสื้อยูนิฟอร์มของพนักงานระหว่างพนักงานต้อนรับ และพนักงานฝั่งเทคนิคมีความชัดเจน เช่น พนักงานต้อนรับมักจะเลือกใช้ยูนิฟอร์มที่ดูสะอาด สุภาพ ส่วนพนักงานช่าง มักจะใส่เสื้อช็อปสีเข้ม ซึ่งการจำแนกประเภทของพนักงานผ่านชุดเหล่านี้ จะช่วยให้ง่ายต่อลูกค้าในเรื่องของการติดต่อสื่อสารกับทางแบรนด์มากขึ้นด้วย
เนื้อผ้าสำหรับทำเสื้อช็อป เลือกแบบไหนดี ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
หลังจากเราได้ทำความรู้จักกับข้อดีของเสื้อช็อปกันแล้ว ต่อไปเราจะมาพูดถึงเนื้อผ้าที่ได้รับความนิยมในการผลิตเสื้อช็อปกันบ้าง เนื่องจากเนื้อผ้าที่เหมาะสมกับการทำเสื้อช็อปมีหลายแบบมาก ในบทความนี้ เราจึงได้คัดเลือก 4 เนื้อผ้ายอดนิยม ในการผลิตเสื้อช็อป มาฝากเพื่อน ๆ กัน จะมีผ้าแบบไหนบ้าง ไปดูกันเลย!
ผ้าเวสปอยท์ (Cotton 100%) มีให้เลือกทั้งแบบเส้นคู่และเส้นเดียว ทอแน่น เนื้อผ้าเรียบนุ่ม สีไม่ตก ทนทานต่อความร้อนและการติดไฟ และป้องกันไฟฟ้าสถิตได้ดี มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ระบายอากาศได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับใส่ในงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนและไฟ เช่น ชุดช่างเชื่อม ยูนิฟอร์มโรงงาน ฯ
ผ้าเสิท เนื้อผ้ามีน้ำหนัก หนา นุ่ม แข็งแรงทนทาน ราคาประหยัด ใช้งานได้ยาวนาน มีความยืดหยุ่นสูง ซักแล้วไม่เป็นขน เหมาะสำหรับใช้เป็นชุดยูนิฟอร์มโรงงานทั่วไป
ผ้าซุปเปอร์คอมทวิว (Poly 65%, Rayon 35%) เนื้อผ้าที่มีส่วนผสมของเรยอน มีความหนานุ่ม มันเงา เหนียว ทนทานต่อการฉีกขาดได้ดีมาก และเป็นเนื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี ไม่อมเหงื่อ ใส่แล้วไม่ร้อน ซักง่ายผ้าไม่หด ไม่ยับง่าย ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา เหมาะสำหรับใช้ทำชุดยูนิฟอร์มทั่วไปในโรงงาน
ผ้าดีวาย (Polyester 100%) เนื้อผ้าแบบลื่น ซักง่าย สีไม่ตก เวลารีดจะจับจีบสวยงาม ง่ายต่อการดูแลรักษา ราคาประหยัด เหมาะสำหรับใช้ผลิตเสื้อผ้าได้หลายรูปแบบ เช่น หมวก ผ้ากันเปื้อน ชุดยูนิฟอร์ม ฯ
17 ม.ค. 2563
11 ต.ค. 2566